อยากมีบ้านต้องรู้ ประมูลบ้านกรมบังคับคดีต้องทำอย่างไร

การประมูลบ้าน กรมบังคับคดี เป็นอีกหนึ่งวิธีซื้อบ้านมือสองในราคาต่ำกว่าราคาตลาด เหมาะสำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด อยากซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยเองในราคาที่เอื้อมถึง หรือต้องการซื้อบ้านเพื่อนำไปลงทุนต่อยอดในราคาที่คุ้มค่า ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ว่าการประมูลบ้านกรมบังคับคดีทำได้อย่างไร และหากอยากประมูลบ้านราคาถูกสภาพดีต้องทำอย่างไรบ้าง มาทำความรู้จักไปพร้อมกันเลย

การประมูลบ้าน กรมบังคับคดีคืออะไร ?

อธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ การประมูลบ้านของกรมบังคับคดีคือ การซื้อบ้านในราคาต่ำกว่าราคาตลาด เพราะบ้านที่นำมาประมูลคือทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้อง ศาลจึงตัดสินให้บ้านหลังนี้ต้องถูกนำมาขายต่อเพื่อให้ได้เงินก้อนไปชดใช้เจ้าหนี้ต่อไป โดยการขายบ้านนี้อยู่ภายใต้การดูแลของกรมบังคับคดีที่ต้องนำบ้านของลูกหนี้ออกมาประมูลขายตามคำสั่งของศาล ผู้ซื้อจึงมักได้บ้านในราคาประหยัดพอสมควร

ใครเข้าร่วมการประมูลบ้านกรมบังคับคดีได้บ้าง ?

ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าร่วมการประมูลซื้อบ้านกรมบังคับคดีได้ เพียงแค่คุณต้องมีความสามารถในการสู้ราคา เพราะการประมูลซื้อบ้านแต่ละครั้ง ผู้ที่สู้ราคาได้จะได้สิทธิ์ในการซื้อบ้านมาไว้ในครอบครอง โดยผู้ซื้อทรัพย์จะต้องเตรียมตัว ดังนี้

  1. ผู้ซื้อต้องตรวจสอบรายละเอียดบ้านที่จะซื้อทั้งสถานที่ และแผนที่การไปบ้านหลังที่สนใจ ตามข้อมูลท่ีปรากฏในประกาศขายทอดตลาดก่อนการเข้าประมูล เพราะทางกรมบังคับคดีจะถือว่าผู้ซื้อได้ทราบถึงสภาพบ้านนั้นโดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว
  2. ผู้ซื้อต้องศึกษาเงื่อนไขการสู้ราคาบ้าน ข้อสัญญา และคำเตือนผู้ซื้อตามประกาศขายทอดตลาดก่อนการประมูล หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดก่อนได้ที่ โทร. 0 2881 4999 และสายด่วนกรมบังคับคดี 1111 กด 79

ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการเข้าร่วมประมูลบ้านกรมบังคับคดี

  1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือหนังสือเดินทางพร้อมสำเนารับรองถูกต้อง 1 ฉบับ
  2. กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ซื้อ ต้องส่งหนังสือรับรองนิติบุคคลที่นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน
  3. กรณีประสงค์ให้บุคคลอื่นเข้าประมูลแทน ต้องมีใบมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ หากเป็นนิติบุคคลต้องมีหนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับสองนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวของผู้มีอำนาจในนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจโดยรับรองสำเนาถูกต้องเช่นกัน
  4. ในการเข้าประมูลซื้ออสังหาริมทรัพย์ ต้องวางเงินสด หรือแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายสำนักงานที่ทำการขายเป็นผู้รับเงิน เพื่อเป็นหลักประกันในการเข้าสู้ราคาตามจำนวนเงินที่กรมบังคับกำหนดไว้ คือ
  5. บ้านที่ราคาไม่เกิน 500,000 บาท วางหลักประกันไม่น้อยกว่า 5% ของราคาประเมิน
  6. บ้านที่ราคาเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท วางหลักประกัน 50,000 บาท
  7. บ้านที่ราคาเกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท วางหลักประกัน 250,000 บาท
  8. บ้านที่ราคาเกิน 5,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000,000 บาท วางหลักประกัน 500,000 บาท
  9. บ้านที่ราคาเกิน 10,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000,000 บาท วางหลักประกัน 1,000,000 บาท
  10. บ้านที่ราคาเกิน 20,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000,000 บาท วางหลักประกัน 2,500,000 บาท
  11. บ้านที่ราคาเกิน 50,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000,000 บาท วางหลักประกัน 5,000,000 บาท
  12. บ้านที่ราคาเกิน 100,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 200,000,000 บาท วางหลักประกัน 10,000,000 บาท
  13. บ้านที่ราคาเกิน 200,000,000 บาทขึ้นไป วางหลักประกันตามที่ผู้ได้รับมอบหมายกำหนด

ข้อแนะนำสำหรับการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีคือ ผู้เข้าร่วมประมูลบ้านควรกำหนดวงเงินที่ต้องการประมูลให้แน่นอน โดยประเมินความสามารถตัวเองว่าซื้อไหวที่ราคาเท่าไร่ หากในการประมูลบ้านเริ่มมีการไต่ระดับราคาที่สูงกว่าราคาที่ตั้งเอาไว้แต่ต้น ควรหยุดประมูลในทันที เพราะอาจได้บ้านในราคาสูงกว่าที่ตั้งเป้าเอาไว้ ซึ่งถือว่าไม่ใช่สิ่งที่คุ้มค่า และอาจเป็นการสร้างภาระหนี้ระยะยาวกว่าเดิมได้

ในการเข้าร่วมประมูลซื้อบ้านกับกรมบังคับคดี ต้องการเตรียมค่าใช้จ่ายเพื่อสู้ราคา หากต้องการงบประมาณเพิ่มเติมในการซื้อบ้าน สามารถยื่นขอสินเชื่อบ้านได้ผ่านเว็บไซต์ของ Rabbit Care ที่รวบรวมสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือจากหลากหลายสถาบัน ซึ่งจะช่วยให้การประมูลบ้านเป็นเรื่องง่ายและมีค่าใช้จ่ายจากการซื้อบ้านลดลงอีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *